ขิงก็รา ข่าก็แรง

ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 สุภาษิต “ขิงก็รา ข่าก็แรง” หมายความว่า ต่างก็จัดจ้านพอ ๆ กัน ต่างก็มีอารมณ์ร้อนพอ ๆ กัน ต่างไม่ยอมลดละกัน. [read more...]

ขวานผ่าซาก

ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 สุภาษิต “ขวานผ่าซาก” หมายความว่า โผงผางไม่เกรงใจใคร (ใช้แก่กริยาพูด).
ขวานผ่าซาก เป็นสุภาษิตหมายถึง ลักษณะการพูดจาตรงเกินไป โผงผาง ไม่เกรงใจใคร พูดไม่ดูกาลเทศะ ไม่ใส่ใจว่าคนฟังจะรู้สึกอย่างไร เช่น [read more...]

ขว้างงูไม่พ้นคอ

ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 สุภาษิต “ขว้างงูไม่พ้นคอ” หมายความว่า ทําอะไรแล้วผลร้ายกลับมาสู่ตัวเอง.
ขว้างงูไม่พ้นคอ เป็นสุภาษิตหมายถึง การที่คนคนนั้นมีปัญหา หรือเรื่องที่ตัวเองมีส่วนเกี่ยวข้อง แต่พยายามปัดปัญหานั้นออกไปให้พ้นตัว แต่ก็ไม่สามารถแก้ไขหรือปัดปัญหานั้นออกไปได้ ต้องได้รับผลจากปัญหาที่เกิดขึ้นอยู่ดี เช่น [read more...]

ขี่ช้างจับตั๊กแตน

ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน สำนวนไทย “ขี่ช้างจับตั๊กแตน” หมายถึง ลงทุนมากแต่ได้ผลนิดหน่อย ซึ่งคำๆนี้โบราณท่านเปรียบไว้กับการกระทำใดๆที่ลงทุนอย่างมากมาย เพียงเพื่อหวังผลเพียงเล็กน้อยเท่านั้น [read more...]

เขียนเสือให้วัวกลัว

ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน สำนวน “เขียนเสือให้วัวกลัว” หมายถึง ทําอย่างใดอย่างหนึ่ง เพื่อให้อีกฝ่ายหนึ่งเสียขวัญหรือเกรงขาม โบราณท่านจึงเปรียบไว้ดังเช่นเขียนภาพเสือเอาไว้เพื่อให้วัวเกิดอาการเกรง กลัวนั่นเอง [read more...]

ข้าเก่าเต่าเลี้ยง

ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน สำนวน “ข้าเก่าเต่าเลี้ยง” หมายถึง คนเก่าคนแก่ คนที่อยู่ด้วยกันในฐานะรับใช้มานาน ซึ่งคนโบราณมักจะนำคำนี้ไปใช้กับคนที่อยู่ด้วยกันมานานในแง่ของความไว้ใจได้ ความซื่อสัตย์ที่เป็นที่ประจักษ์ [read more...]

เข็นครกขึ้นภูเขา

สุภาษิต “เข็นครกขึ้นภูเขา” หมายถึง การทำงานที่ยากลำบาก เกินความสามารถของตน โบราณท่านจึงเปรียบเอาไว้เหมือนกับการเข็น กลิ้ง หรือดันให้ครก ซึ่งมีน้ำหรักมาก ให้ขึ้นไปบนภูเขาซึ่งมีความสูง เป็นสิ่งที่ทำได้ยากและลำบากยิ่ง [read more...]

ขุดบ่อล่อปลา

ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน สำนวน “ขุดบ่อล่อปลา” หมายถึง การทํากลอุบายเพื่อให้ฝ่ายหนึ่งหลงเชื่อโดยหวังประโยชน์จากอีกฝ่ายหนึ่ง โบราณท่านจึงเปรียบเทียบเอาไว้เหมือนการขุดบ่อเพื่อล่อให้ปลาเข้ามาอยู่อาศัยหรือเข้ามาติดกับดัก [read more...]

ข้าวใหม่ปลามัน

ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน สำนวน “ข้าวใหม่ปลามัน” หมายถึงอะไรที่เป็นของใหม่ก็ถือว่าดี นิยมเรียกช่วงเวลาที่สามีภรรยาเพิ่งแต่งงานกันใหม่ๆว่า ระยะข้าวใหม่ปลามัน บางครั้งก็ใช้กับอย่างอื่นที่เป็นของใหม่ด้วย [read more...]

เข้าไต้เข้าไฟ

สำนวน “เข้าไต้เข้าไฟ” หมายถึง เวลาหัวค่ำ พลบค่ำ เริ่มมืดสลัวมองอะไรไม่ชัดเจน สำนวนนี้เป็นตัวบ่งบอกเวลาว่าเข้าช่วงเวลามืดค่ำแล้ว โดยโบราณท่านเปรียบไว้ว่าเป็นเวลาที่ต้องจุดไต้หรือจุดไฟแล้วนั่นเอง [read more...]