คมในฝัก

ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 “คมในฝัก” หมายความว่า (สํา) ว.
“มีความรู้ความสามารถแต่เมื่อยังไม่ถึงเวลาก็ไม่แสดงออกมาให้ปรากฏ” [read more...]

คว้าน้ำเหลว

ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 “คว้าน้ำเหลว” หมายความว่า (สํา) ก.
“ไม่ได้ผลตามต้องการ” [read more...]

โค่นกล้วยอย่าไว้หน่อ

โค่นกล้วยอย่าไว้หน่อ เป็นสุภาษิตหมายถึง การจะกำจัดศัตรูหรือผู้คิดร้ายต่อเรา ต้องกำจัดให้หมดอย่าได้เหลือพรรคพวก ผู้สืบทอดที่จะกลับมาเป็นศัตรูทำร้ายเราได้อีก เช่น [read more...]

คบคนพาลพาลพาไปหาผิด คบบัณฑิตบัณฑิตพาไปหาผล

คบคนพาล พาลพาไปหาผิด คบบัณฑิต บัณฑิตพาไปหาผล เป็นสุภาษิตหมายถึง การเลือกคบคนค้องพิจารณาให้ดีถ้าคบคนชั่วมาเป็นมิตร คนชั่วก็จะชักนำ พาเราไปในทางไม่ดี ถ้าคบคนดีมีความรู้ คนดีก็จะชักนำ พาเราไปในทางที่ดี เช่น [read more...]

คนดีผีคุ้ม

ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 สุภาษิต “คนดีผีคุ้ม” หมายความว่า คนทําดีเทวดาย่อมคุ้มครอง มักใช้เข้าคู่กับ คนร้ายตายขุม ว่า คนดีผีคุ้ม คนร้ายตายขุม. [read more...]

โคแก่ชอบกินหญ้าอ่อน

ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 สุภาษิต “โคแก่ชอบกินหญ้าอ่อน” หมายความว่า ชายสูงอายุที่ชอบผู้หญิงรุ่นสาว. [read more...]

คาหนังคาเขา

ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 สุภาษิต “คาหนังคาเขา” หมายความว่า จับได้ในขณะที่กําลังกระทําผิดหรือพร้อมกับของกลาง ใช้เพี้ยนว่า คาหลังคาเขา ก็มี. [read more...]

คางคกขึ้นวอ

ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 สุภาษิต “คางคกขึ้นวอ” หมายความว่า คนที่มีฐานะตํ่าต้อย พอได้ดิบได้ดีก็มักแสดงกิริยาอวดดีลืมตัว.
คางคกขึ้นวอ เป็นสุภาษิตหมายถึง คนที่มีฐานะต่ำต้อย พอได้ดิบได้ดี ลืมตัวลืมกำพืด ลืมชาติกำเนิดตัวเอง ดูถูกเหยียดหยามสิ่งที่ตัวเองเคยเป็น เช่น [read more...]

คนล้มอย่าข้าม

ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน สำนวนคำพังเพยที่ว่า “คนล้มอย่าข้าม” นั้น หมายถึง อย่าดูถูกหรือซ้ำเติมคนที่พลาดพรั้งเผลอ คำพังเพยนี้มาจากคำเต็มว่า “คนล้มอย่าข้าม ไม้ล้มข้ามได้” [read more...]

คลุกคลีตีโมง

ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน สำนวน “คลุกคลีตีโมง” หมายถึง มั่วสุมหรืออยู่ร่วมคลุกคลีพัวพันกันอย่างใกล้ชิดตลอดเวลา คำนี้โบราณท่านเปรียบไว้ด้วยคำที่มีความหมายบ่งบอกที่ค่อนข้างชัดเจน คือคำว่าคลุกคลีนั่นเอง [read more...]