ข้าเก่าเต่าเลี้ยง

ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน สำนวน “ข้าเก่าเต่าเลี้ยง” หมายถึง คนเก่าคนแก่ คนที่อยู่ด้วยกันในฐานะรับใช้มานาน ซึ่งคนโบราณมักจะนำคำนี้ไปใช้กับคนที่อยู่ด้วยกันมานานในแง่ของความไว้ใจได้ ความซื่อสัตย์ที่เป็นที่ประจักษ์ [read more...]

เลี้ยงลูกเสือลูกจระเข้

ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน สำนวน “เลี้ยงลูกเสือลูกจระเข้” หมายถึง เลี้ยงลูกของศัตรูหรือคนพาลซึ่งจะนำความเดือดร้อนมาให้ คนโบราณท่านเปรียบการกระทำนี้กับการเลี้ยงลูกของเสือหรือลูกของจระเข้ ซึ่งไม่สามารถเลี้ยงให้เชื่องได้ [read more...]

ตีบทแตก

ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน สำนวน “ตีบทแตก” หมายถึง นักแสดงตีบทแตกจนสามารถคว้ารางวัลมาครองได้ หรือ แสดงได้แนบเนียนสมจริง โบราณท่านใช้คำนี้มาอธิบายคนที่สามารถแสดงออกได้อย่างแนบเนียนจนคนอื่นคล้อยตาม ทั้งดีใจและเสียใจ [read more...]

เนื้อไม่ได้กิน หนังไม่ได้รองนั่ง เอากระดูกมาแขวนคอ

ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน สุภาษิต “เนื้อไม่ได้กิน หนังไม่ได้รองนั่ง เอากระดูกมาแขวนคอ” หมายถึง ไม่ได้ประโยชน์อะไรจากสิ่งนั้น แถมยังต้องมารับเคราะห์เสียอีกด้วย โบราณท่านเปรียบเหตุการนี้กับว่า ไม่ได้เนื้อเป็นอาหาร ไม่ได้เอาหนังมาปูนั่ง แถมยังต้องเอากระดูกมาแขวนคอให้หนักเปล่าๆ [read more...]

ปั้นน้ำเป็นตัว

ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน สำนวน “ปั้นน้ำเป็นตัว” หมายถึง สร้างเรื่องเท็จให้เห็นเป็นจริงเป็นจังขึ้นมา คำนี้มักใช้กับคนที่มีนิสัยชอบโกหกเป็นนิสัย พูดจาเชื่อถือไม่ได้เลย โดยโบราณท่านเปรียบไว้กับการปั้นน้ำเป็นตัวนั่นเอง [read more...]

มะกอกสามตะกร้าปาไม่ถูก

ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน สำนวน “มะกอกสามตะกร้าปาไม่ถูก” หมายถึง พูดจาตลบตะแลงพลิกแพลงไปมาจนจับคําพูดไม่ทัน ถ้าเราจะตีความหมายให้แคบลงเมื่อพูดถึงคน ก็หมายถึงคนที่มีนิสัยกลับกลอก [read more...]

ฟื้นฝอยหาตะเข็บ

ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน สำนวน “ฟื้นฝอยหาตะเข็บ” หมายถึง การรื้อฟื้นเอาเรื่องเก่าๆที่ผ่านไปแล้วขึ้นมาพูดอีกให้เป็นที่สะเทือนใจ เสียใจ ลำบากใจ หรือกล่าวได้ว่าเป็นการคุ้ยเขี่ยเอาเรื่องที่สงบแล้วให้กลับมาเป็นเรื่องอีกนั่นเอง [read more...]

รกคนดีกว่ารกหญ้า

ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน สุภาษิต “รกคนดีกว่ารกหญ้า” หมายถึง รกคนยังพอใช้ประโยชน์ได้บ้างแต่รกหญ้าไม่มีประโยชน์ ถ้าแปลไทยเป็นไทยก็จะได้ความหมายว่า การที่มีคนอยู่เป็นจำนวนมาก อย่างไรเสียก็จะยังมีประโยชน์มากกว่าการมีแต่หญ้าซึ่งไร้ประโยชน์ [read more...]

ลิงหลอกเจ้า

ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน สำนวน “ลิงหลอกเจ้า” หมายถึง กิริยาล้อเลียนผู้ใหญ่เมื่อผู้ใหญ่เผลอ สำนวนนี้แทนความหมายที่เด็กหรือผู้น้อยที่มักจะแสดงกิริยาสุภาพอ่อนน้อมเมื่ออยู่ต่อหน้าผู้ใหญ่หรือผู้อาวุโส แต่จะแสดงอาการลิงโลด ล้อเลียน หรืออาการไม่สุภาพเมื่อลับหลัง [read more...]

จับเสือมือเปล่า

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน ได้บัญญัติไว้ว่า สำนวน “จับเสือมือเปล่า” หมายถึงแสวงหาประโยชน์โดยตัวเองไม่ต้องลงทุน อันหมายความว่า บุคคลที่คาดหวังในผลประโยชน์ที่จะได้รับ โดยไม่ต้องลงทุนลงแรงอะไรเลย [read more...]