ปลาหมอตายเพราะปาก

ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน สำนวน “ปลาหมอตายเพราะปาก” หมายถึง คนที่พูดพล่อยจนได้รับอันตราย หรือ คนที่พูดจาไม่ระวังจนนำอันตรายหรือความลำบากมาสู่ตนเอง โบราณท่านจึงเปรียบไว้เหมือนปลาหมอที่ต้องขึ้นมาหายใจที่ผิวน้ำ ทำให้ตัวเองได้รับอันตรายหรือถูกจับได้ [read more...]

ปล่อยเสือเข้าป่า ปล่อยปลาลงน้ำ

ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน สำนวน “ปล่อยเสือเข้าป่า ปล่อยปลาลงน้ำ” หมายถึง ปล่อยศัตรูไปแล้วเขาจะไม่นึกถึงบุญคุณ คำนี้เป็นคำสองคำที่มีความหมายเหมือนกันที่ผสมกันอยู่คือ ปล่อยเสือเข้าป่า และ ปล่อยปลาลงน้ำ [read more...]

หว่านพืชต้องหวังผล

ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน สุภาษิตหรือสำนวน “หว่านพืชต้องหวังผล” หมายถึง ให้ผลประโยชน์แก่ผู้อื่นเพื่อหวังผลตอบแทน ซึ่งหมายความว่าการกระทำของบุคคลคนหนึ่งหรือคณะหนึ่ง ที่ให้คุณประโยชน์กับผู้อื่น ก็เพื่อที่จะหวังผลตอบแทนกลับมาในอนาคตนั่นเอง [read more...]

ฝนทั่งให้เป็นเข็ม

สำนวน “ฝนทั่งให้เป็นเข็ม” หมายถึง การใช้ความพยายามอย่างเต็มความสามารถเพื่อให้งานนั้นสำเร็จ ซึ่งโบราณท่านเปรียบไว้ดังการฝนหรือตะไบทั่งซึ่งเป็นแท่งเหล็กขนาดใหญ่ ให้มีขนาดเล็กลงจนเท่าเข็มเล่มหนึ่ง [read more...]

ไม้อ่อนดัดง่าย ไม้แก่ดัดยาก

สำนวน “ไม้อ่อนดัดง่าย ไม้แก่ดัดยาก” หมายถึง การอบรมสั่งสอนเด็กหรือคนอายุน้อย ย่อมง่ายกว่าการสั่งสอนอบรมคนที่มีอายุมากแล้ว โบราณท่านจึงเปรียบเทียบไว้กับไม้ ซึ่งไม้ที่อ่อน มีอายุน้อยย่อมดัดและเปลี่ยนแปลงรูปแบบได้ง่ายกว่าไม้แก่หรืออายุมาก [read more...]

รำไม่ดีโทษปี่โทษกลอง

สำนวนไทยคำว่า “รำไม่ดีโทษปี่โทษกลอง” หมายถึง การกระทำใดๆของตนที่ได้ผลออกมาไม่ดี แต่กลับโทษคนอื่นหรือสิ่งอื่น แทนที่จะโทษตัวเอง โบราณท่านจึงเปรียบไว้เหมือนกับการร่ายรำที่ออกมาไม่ดี แทนที่จะโทษตัวเอง แต่กลับไปโทษปี่กลองผู้ให้จังหวะ [read more...]

ล้วงคองูเห่า

ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน สำนวน “ล้วงคองูเห่า” หมายถึง บังอาจลักขโมยหรือล่อลวงเอาทรัพย์สินเป็นต้นจากผู้ที่น่าเกรงขาม ซึ่งโบราณท่านได้เปรียบไว้กับการล้วงคอของงูเห่า ซึ่งมีพิษร้ายแรงและมีอันตรายมาก [read more...]

สวรรค์อยู่ในอก นรกอยู่ในใจ

คำพังเพย “สวรรค์อยู่ในอก นรกอยู่ในใจ” หมายถึง ใจคนเรานั้นเป็นสำคัญ ความสุขที่เกิดจากการทำความดีหรือความทุกข์ที่เกิดจากการทำความชั่ว ย่อมอยู่ในใจของผู้ทำเอง รู้แก่ตัวเองดี ถึงจะปิดผู้อื่นได้แต่ก็ปิดใจตนเองไม่ได้อยู่ดี [read more...]

เข้าไต้เข้าไฟ

สำนวน “เข้าไต้เข้าไฟ” หมายถึง เวลาหัวค่ำ พลบค่ำ เริ่มมืดสลัวมองอะไรไม่ชัดเจน สำนวนนี้เป็นตัวบ่งบอกเวลาว่าเข้าช่วงเวลามืดค่ำแล้ว โดยโบราณท่านเปรียบไว้ว่าเป็นเวลาที่ต้องจุดไต้หรือจุดไฟแล้วนั่นเอง [read more...]

ซื่อเหมือนแมวนอนหวด

สำนวน “ซื่อเหมือนแมวนอนหวด” หรือ “เชื่องเหมือนแมวนอนหวด”  หมายถึงทำเป็นซื่อ เชื่อง ไม่มีพิษมีภัย แต่ความจริงแล้วกลับซ่อนความร้ายกาจ ความเจ้าเล่ห์ เอาไว้ภายใน โดยโบราณท่านเปรียบไว้เหมือนแมวเชื่องๆตัวหนึ่ง แต่ถึงเวลาที่ตื่นตัวกลับปราดเปรียวและมีพิษสงร้ายกาจ [read more...]